ข้อมูลทั่วไป
1. โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง เป็นโรงเรียนในเขตรับผิดชอบเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ตั้งอยู่ที่เลขที่ 111 บ้านสันตับเต่า หมู่ที่ 17 ถนนลี้–ลำพูน ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51130
2. เปิดสอนระดับ (ช่วงอายุ) 3 ปี ถึง 6 ปี
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ/สังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
ประวัติโดยย่อ
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านโฮ่งประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2560 โดย นายกเทศมนตรีตำบลบ้านโฮ่งและผ่านการรับรองของสภาเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง เปิดสอนเด็กนักเรียนอายุ 3 – 6 ปีระดับชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นอนุบาล 3 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลบ้านโฮ่ง เป็นโรงเรียนใน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 111 หมู่ 17 บ้านสันตับเต่า ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอ บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โรงเรียนตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ตั้งอยู่บน ที่ดินประมาณ 2 ไร่ ที่ดินดังกล่าวเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง ได้มอบให้จัดสร้างศูนย์ฯและโรงเรียนฯ
ชื่อสถานศึกษา | ระดับชั้น | จำนวนเด็กเล็ก/เด็กนักเรียน(คน) | ||
---|---|---|---|---|
ชาย | หญิง | รวม | ||
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง | ชั้นอนุบาล 1 | 13 | 14 | 27 |
ชั้นอนุบาล 2 | 15 | 9 | 24 | |
ชั้นอนุบาล 3 | 8 | 10 | 18 | |
รวม | 36 | 33 | 69 |
(ข้อมูล ณ 18 พฤษภาคม 2566)
ข้อมูลบุคลากรโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง
พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา
2. พัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก
3. พัฒนาคุณภาพของเด็ก
4. อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. เสริมสร้างทักษะการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน
6. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goals)
1. มีการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีคุณภาพ
2. ครูผู้ดูแลเด็กมีความเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
3. เด็กนักเรียนมีพัฒนาการสมวัยตามศักยภาพตนเอง
4. ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการสานต่อ
5. เด็กนักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
6. โรงเรียนผ่านการประเมินสถานศึกษาพอเพียง
ยุทธศาสตร์การพัฒนา (24 กลยุทธ์)
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา
1.1 บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
1.2 บริหารจัดการบุคลากร
1.3 บริหารจัดสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย
1.4 ส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้
1.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและชุมชุน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก
2.1 ส่งเสริมการดูแลและพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน
2.2 ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและการดูแลสุขภาพ
2.3 ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษาและการสื่อสาร
2.4 ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม ปลูกฝังคุณธรรม ความเป็นพลเมืองดี
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพของเด็ก
3.1. ส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตสมวัย และมีสุขนิสัยที่เหมาะสม
3.2. ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย
3.3. ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
3.4. ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
3.5 ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้และสร้างสรรค์
3.6 ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
3.7 ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม คุณธรรม มีวินัย ความเป็นพลเมืองดี ดำเนินชีวิตตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.1 จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนด้านวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างทักษะการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ให้แก่ผู้เรียน
5.1 จัดการเรียนรู้ให้เกิดทักษะ การอ่าน การเขียน และการคำนวณเป็น (3Rs)
5.2 จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ 8Cs
5.3 ส่งเสริมการสร้างทักษะการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้วยการพัฒนาทักษะสมอง
6. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6.1. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารสถานศึกษาพอเพียง
6.2. ส่งเสริมการท าหลักสูตรและการจัดการจัดประสบการณ์ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง
6.3 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสัมพันธ์กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6.4 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้เป็นบุคคลพอเพียง